Pokemon The Rainbow Badge Pokemon The Rainbow Badge

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561


Learning Record 8
Monday 5 March 2018

สาระที่ควรรู้
สาระที่ควรเรียนรู้  สาระในส่วนนี้กำหนดเฉพาะหัวข้อไม่มีรายละเอียดทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะให้ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ ความสนใจของเด็กอาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้โดยคำนึงถึงประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ผู้สอนสามารถนำสาระที่ควรเรียนรู้มาบูรณาการ จัดประสบการณ์ต่างๆให้ง่ายต่อการ เรียนรู้  ทั้งนี้มิได้ประสงค์ให้เด็กท่องจำเนื้อหา  แต่ต้องการให้เด็กเกิดแนวคิดหลังจากนำสาระการเรียนรู้นั้นๆมาจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ สาระที่ควรเรียนรู้ยังใช้เป็นแนวทางช่วยผู้สอนกำหนดรายละเอียดและความยากง่ายของเนื้อหาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก  ดังนี้
1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี  ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองแล้ว  เด็กควรจะเกิดแนวคิดดังนี้ฉันมีชื่อตั้งแต่เกิด ฉันมีเสียง รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนใคร ฉันภูมิใจที่เป็นตัวฉันเอง เป็นคนไทยที่ดี มีมารยาท มีวินัย รู้จักแบ่งปัน ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง  เช่น  แต่งตัว แปรงฟันรับประทานอาหาร ฯลฯฉันมีอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก ขา มือ ผม นิ้วมือ นิ้วเท้า ฯลฯ และ ฉันรู้จักวิธีรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขภาพดีฉันต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกาย และพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่าง ๆ  รู้จักระมัดระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นเมื่อทำงาน เล่นคนเดียว และเล่นกับผู้อื่นฉันอาจรู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ เหนื่อย หรืออื่น ๆ แต่ฉันเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึกในทางที่ดี และเมื่อฉันแสดงความคิดเห็น หรือทำสิ่งต่าง ๆด้วยความคิดของตนเอง  แสดงว่าฉันมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดของฉันเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนอื่นก็มีความคิดที่ดีเหมือนฉันเช่นกัน
2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง  หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้ทุกคนในครอบครัวของฉันเป็นบุคคลสำคัญ ต้องการที่อยู่อาศัย  อาหาร  เสื้อผ้า  และยารักษาโรค  รวมทั้งต้องการความรัก  ความเอื้ออาทร  ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน  ช่วยกันทำงานและปฏิบัติตามข้อตกลงภายในครอบครัว  ฉันต้องเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว  ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ  ครอบครัวของฉันมีวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิดของบุคคลในครอบครัว วันทำบุญบ้าน ฯลฯ ฉันภูมิใจในครอบครัวของฉัน  สถานศึกษาของฉันมีชื่อ  เป็นสถานที่ที่เด็กๆมาทำกิจกรรมร่วมกันและทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย สถานศึกษาของฉันมีคนอยู่ร่วมกันหลายคน ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ช่วยกันรักษาความสะอาดและทรัพย์สมบัติของสถานศึกษา  ส่วนครูรักฉันและเอาใจใส่ดูแลเด็กทุกคน  เวลาทำกิจกรรมฉันและเพื่อนจะช่วยกันคิด  ช่วยกันทำ  รับฟังความคิดเห็น  และรับรู้ความรู้สึกซึ่งกันและกัน
ท้องถิ่นของฉันมีสถานที่ บุคคล แหล่งวิทยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สำคัญ คนในท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่มีอาชีพที่หลากหลาย เช่น ครู แพทย์ ทหาร ตำรวจ ชาวนา  ชาวสวน พ่อค้า แม่ค้า ฯลฯ ท้องถิ่นของฉันมีวันสำคัญของตนเอง ซึ่งจะมีการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไป
ฉันเป็นคนไทย มีวันสำคัญของชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์  มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง  ฉันและเพื่อนนับถือศาสนา หรือมีความเชื่อที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้  ศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ฉันภูมิใจที่ฉันเป็นคนไทย
3)ธรรมชาติรอบตัวเด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน  ฯลฯ  แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว  มีดังนี้
ธรรมชาติรอบตัวฉันมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศ แสงแดด น้ำและอาหารเพื่อเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะอากาศ ฤดูกาล และยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สำหรับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น น้ำ หิน ดิน ทราย ฯลฯ มีรูปร่าง สี ประโยชน์ และโทษต่างกัน
ลักษณะอากาศรอบตัวแต่ละวันอาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้ บางครั้งฉันทายลักษณะอากาศได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว  เช่น เมฆ ท้องฟ้า ลม ฯลฯ  ในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนฉันไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น ฉันและคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวฉัน เช่น ต้นไม้ สัตว์ น้ำ ดิน หิน ทราย อากาศ ฯลฯ  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตต้องได้รับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบๆตัวฉัน เช่น บ้านอยู่อาศัย ถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ  เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทุกคนรวมทั้งฉันช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสาธารณสมบัติโดยไม่ทำลายและบำรุงรักษาให้ดีขึ้นได้
4)สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก  ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้
สิ่งต่างๆรอบตัวฉันส่วนใหญ่มีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสติกใส น้ำบริสุทธิ์  อากาศบริสุทธิ์  ฉันเห็นสีต่างๆด้วยตา  แสงสว่างช่วยให้ฉันมองเห็นสี  สีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ฉันสามารถเห็น ตามดอกไม้ เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ และอื่น ๆ สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน ฯลฯ  สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกต่างกัน สีบางสีสามารถใช้เป็นสัญญาณ หรือสัญลักษณ์สื่อสารกันได้
สิ่งต่าง ๆ รอบตัวฉันมีชื่อ ลักษณะต่าง ๆ กัน สามารถแบ่งตามประเภท ชนิด ขนาด สี รูปร่าง พื้นผิว วัสดุ รูปเรขาคณิต ฯลฯ
การนับสิ่งต่าง ๆ ทำให้ฉันรู้จำนวนสิ่งของ และจำนวนนับนั้นเพิ่มหรือลดได้  ฉันเปรียบเทียบสิ่งของต่าง ๆ ตามขนาด จำนวน น้ำหนัก และจัดเรียงลำดับสิ่งของต่าง ๆ ตามขนาด ตำแหน่ง ลักษณะที่ตั้งได้
คนเราใช้ตัวเลขในชีวิตประจำวัน เช่น เงิน โทรศัพท์ บ้านเลขที่ ฯลฯ  ฉันรวบรวมข้อมูลง่าย ๆ นำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยนำเสนอด้วยรูปภาพ แผนภูมิ  แผนผัง  แผนที่  ฯลฯ
สิ่งที่ช่วยฉันในการชั่ง ตวง วัด มีหลายอย่าง เช่น เครื่องชั่ง ไม้บรรทัด สายวัด ถ้วยตวง ช้อนตวง เชือก วัสดุ สิ่งของอื่น ๆ บางอย่างฉันอาจใช้การคาดคะเนหรือกะประมาณ
เครื่องมือเครื่องใช้มีหลายชนิดและหลายประเภท เช่น เครื่องใช้ในการทำสวน การก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน ฯลฯ คนเราใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน  แต่ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังในเวลาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายและเกิดความเสียหายได้ถ้าใช้ผิดวิธีหรือใช้ผิดประเภท  เมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ฉันเดินทางจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ด้วยการเดินหรือใช้ยานพาหนะ พาหนะบางอย่างที่ฉันเห็นเคลื่อนที่ได้โดยการใช้เครื่องยนต์ ลม ไฟฟ้า หรือคนเป็นผู้ทำให้เคลื่อนที่ คนเราเดินทางหรือขนส่งได้ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พาหนะที่ใช้เดินทาง เช่น รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ฯลฯ  ผู้ขับขี่จะต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่และทำตามกฏจราจรเพื่อความปลอดภัยของทุกคน และฉันต้องเดินบนทางเท้า ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอย หรือตรงที่มีสัญญาณไฟ เพื่อความปลอดภัยและต้องระมัดระวังเวลาข้าม
ฉันติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆได้หลายวิธี เช่น โดยการไปมาหาสู่  โทรศัพท์ โทรเลข จดหมาย จดหมายอิเลคทรอนิคส์ ฯลฯ  และฉันทราบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัวด้วยการสนทนา ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือ หนังสือเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้อ่าน ถ้าฉันชอบอ่านหนังสือ ฉันก็จะมีความรู้ ความคิดมากขึ้น ฉันใช้ภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน





Skills
ทักษะการฟัง
ทักษะการต่อยอดความรู้
ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
Self assessment
แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
Evaluate friends
มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
Teacher Evaluation
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
Classify
ห้องเรียนสะอาดกว้าง  บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน




Learning Record 7
Monday 26  February 2018

midterm exam





Learning Record 6

Tuesday 20  February 2018






สาระการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
สาระการเรียนรู้หลักสูตรการปฐมศึกษา กำหนดไว้ 2 ส่วน คือ สาระที่ควรเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ ดังนี้
สาระที่ควรเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
ธรรมชาติรอบตัว
สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
สาระที่ควรเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก^
รู้จักชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฎิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

ธรรมชาติรอบตัว
รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน-กลางคืน ฯลฯ

สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
การประสามสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
การรักษาสุขภาพ
การรักษาความปลอดภัย


ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
ดนตรี
สุนทรียภาพ
การเล่น
คุณธรรมจริยธรรม

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
การเรียนรู้ทางสังคม
การปฎิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
การวางแผน ตัดสินใจเลือกและลงมือปฎิบัติ
การมีโอกาสได้รับความรู้สึก ความสนใจ และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพควาคิดเห็นของผู้อื่น
การแก้ปัญหาในการเล่น
การปฎิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา^
การคิด
การใช้ภาษา
การสังเกตุ การจำแนก และการเปรียบเทียบ
จำนวน
มิติสัมพันธ์ (พื้นที่/ระยะ)
เวลา



กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

ภาษา
ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
ศิลปะ
ได้แก่ กิจกรรมหลัก >> วาดภาพด้วยสีเทียน,งานปั้น
กิจกรรมพิเศษ >> ฉีกปะ,พิมพ์ภาพ,ประดิษฐ์,ร้อยสาน
สุขศึกษา
ได้แก่ การดูแลรักษาตนเอง ฯ
พละศึกษา
ได้แก่ การเคลื่อนไหว ฯ
คุณธรรม จริยธรรม
ได้แก่ คุณธรรม 12 ประการ





Skills
ทักษะการฟัง
ทักษะการต่อยอดความรู้
ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
Self assessment
แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
Evaluate friends
มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
Teacher Evaluation
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
Classify
ห้องเรียนสะอาดกว้าง  บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน




Learning Record 5

Monday 12  February 2018

กลุ่มที่ 1 เทคนิคการสอนแบบ Storyline
กลุ่มที่ 2 การสอนแบบวอลดอร์ฟ
กลุ่มที่ 3 การสอนแบบภาษาธรรมชาติ




กลุ่มที่ 1 เทคนิคการสอนแบบ Storyline
วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)

แนวคิดทฤษฎีที่ใช้
การเรียนรู้แบบ Story line เป็นการสอนวิธีหนึ่งที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริง ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าควรทำ ไม่ควรทำ ควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งดีสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการใช้หลักสูตรบูรณาการเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานได้ผลการเรียนรู้มีความคงทน เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเป็นผลการค้นพบของสตีฟ เบลล์ และแซลลี่ ฮาร์ดเนส (Steve Bell and Sally Hardness) นักการศึกษาชาวสก็อต ซึ่งสตีฟเบลล์ เรียกว่า การจัดการเรียนรู้ที่เป็นสตอรี่ไลน์ (Story line approach) และยังเรียกว่าวิธีสตอรี่ไลน์ (Story line method)

วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว
ลักษณะเด่นของวิธีสอน
1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งมีดังนี้
1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด
2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
3) ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้
4) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands) เป็นวิธีสอนที่ให้อำนาจแก่ ผู้เรียน (Learner Empowerment) คือ ให้โอกาสสร้างความรู้หรือปรับแต่งโครงสร้างความรู้ด้วย ตนเองอย่างเป็นอิสระ และแสดงถึงกระบวนการในการได้มาซึ่งความรู้นั้นๆ รับผิดชอบต่อ ความรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning)
4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข

ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสตอรีไลน์
1.เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนจำได้ถาวร (Retention) ซึ่งการเรียนแบบนี้ต้องเริ่มต้นด้วยการทบทวนความรู้เดิม และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
2.ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Participate) ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม เป็นการพัฒนาทั้งตัว
3.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามประสบการณ์ชีวิตของตน และเป็นประสบการณ์จริงในชีวิตของผู้เรียน
4.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่มีการเบื่อหน่าย
5.ผู้เรียนจะได้สร้างจินตนาการตามเรื่องที่กำหนด เป็นการเรียนรู้ด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง วิถีชีวิต ผสมผสานกันไป อันเป็นสภาพจริงของชีวิต
6.ผู้เรียนจะได้พัฒนาความคิดระดับสูง คิดไตร่ตรอง คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิด แก้ปัญหา คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์
7.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คน 4 คน 6 คน รวมทั้งเพื่อนทั้งห้องเรียน ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรม เป็นการพัฒนาให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์
8.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวสู่สิ่งไกลตัว เช่น เรียนตัวของเรา บ้านของเรา ครอบครัวของเรา ชุมชนของเรา ประเทศของเรา และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปตามระดับสติปัญญาของผู้เรียน
9.ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นสุข สนุกสนาน เห็นคุณค่าของงานที่ทำ และงานที่นำไปนำเสนอต่อเพื่อนต่อชุมนุม ทำให้เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง   Story Line เป็นเทคนิคการสอนอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคิดค้นและพัฒนาในสกอตแลนด์ โดย สตีพ เบล ( Steve Bell ) และ ซัลลี่ ฮัคเนส ( Sallie Harkness )

องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถุงเหตุการที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี





กลุ่มที่ 2 การสอนแบบวอลดอร์ฟ
โรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ Waldorf
โรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ Waldorf หนึ่งในโรงเรียนทางเลือก ที่อยู่ความสนใจของผู้ปกครอง และกำลังมองหาโรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่ มาทำความรู้จักกับแนวคิด หลักสูตร รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ และที่สำคัญคือลูกจะได้อะไรจากการเรียนในโรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟกันบ้าง
 แนวการเรียนการสอนของโรงเรียนวอลดอร์ฟ
โรงเรียนแนวการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ เป็นแนวการศึกษาที่บูรณาการวิชาการไปกับกิจกรรรมต่างๆ โดยมีครูคอยดูแลและอำนวยความสะดวก เน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติทั้งในกลางแจ้งและในห้องเรียน โดยเชื่อว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนไปกับโลกและสิ่งแวดล้อม และได้ใช้พลังงานทุกด้านอย่างพอเหมาะ




จุดเด่นของโรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟ
โรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟ เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวตามมนุษยปรัชญา เพื่อพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ เป้าหมายของการศึกษาวอลดอร์ฟคือ ช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตัวเอง
การศึกษาแนววอลดอร์ฟนี้จึงเน้นเรื่องของการเชื่อมโยงมนุษย์กับจักรวาล โดยมีมุมมองว่า เด็กควรได้เล่นอย่างอิสระ ชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ เน้นการสอนให้รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก โดยผ่านกิจกรรม 3 อย่างคือ กิจกรรมทางกาย ผ่านอารมณ์ความรู้สึก และผ่านการคิด เน้นการให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ด้านศิลปะ และด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะ

โรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟจะสอนตามพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะวัย 0-7 ปีเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางกายมาก จึงเน้นไปที่การเล่นเพื่อพัฒนาอวัยวะส่วนต่างๆ เด็กจะได้เป็นผู้ลงมือกระทำ ได้แสดงออกเพื่อฝึกการคิดและจินตนาการทั้งในวิชาทางด้านศิลปะ ดนตรี การวาดเขียน และในงานภาคปฏิบัติอื่นๆ

สิ่งที่การเรียนแนววอลดอร์ฟเน้นมากคือ "จินตนาการของเด็กคือการเรียนรู้" วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จะต้องเป็นธรรมชาติ เช่น ถ้าวาดรูป สีที่ใช้ก็จะมีแค่สีปฐมภูมิ คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง เท่านั้น แนวคิดนี้จะทำให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน มองเห็นว่าโลก สิ่งแวดล้อม และสรรพสิ่งเป็นสิ่งเดียวกันต้องช่วยกันรักษา ซึ่งส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เป็น

สิ่งที่เด็กได้รับจากการเรียนโรงเรียนวอลดอร์ฟ
การเรียนการสอนแนววอลดอร์ฟจะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพสมดุลกลมกลืนกับโลกและสิ่งแวดล้อม ให้เด็กได้พัฒนาทั้งร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กันไป เด็กจะพัฒนาถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ โดยการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะเป็นไปอย่างสมดุล โดยการเรียนรู้ทางกาย(การลงมือทำ) หัวใจ(ความรู้สึก ความประทับใจ) และสมอง(ความคิด)

การเรียนการสอนในแนววอลดอร์ฟนี้ เป็นการสอนเพื่อพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ การนำวิธีการสอนแบบวอล์ดอร์ฟจำเป็นต้องนำทั้งระบบการศึกษาไปใช้ควบคู่กับรูปแบบ ดังนั้นพ่อแม่ต้องพิจารณาความเหมาะสมของสถานศึกษาอย่างรอบคอบก่อนส่งลูกไปเรียนด้วย




กลุ่มที่ 3 การสอนแบบภาษาธรรมชาติ
การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล
การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน

        การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนความเชื่อหรือปรัชญาของผู้จัด จากหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่กล่าวไว้ว่าการสอนภาษาจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวมนั้น แสดงให้เห็นว่าการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายลักษณะการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่สามารถส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กไว้ สามารถสรุปได้ ดังนี้

        1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมีมุมที่เด่นชัด คือ มุมห้องสมุด มุมอ่าน มุมเขียน ส่วนมุมอื่นๆที่อาจจัดไว้ ได้แก่ มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก ฯลฯ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอื้อต่อการเรียนภาษาได้โดยจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
        2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กๆสนใจที่จะอ่านและเขียนจากความเข้าใจและประสบการณ์ ทั้งนี้ จะต้องเป็นห้องเรียนที่เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

บทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ

        เนื่องจากการสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งเป็นกรอบให้ครูในการตัดสินใจและออกแบบการสอน ดังนั้น เมื่อมีการนำการสอนภาษาแบบธรรมชาติมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนจากการสอนแบบเดิม มีนักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายบทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติไว้ สรุปได้ดังนี้
        1. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ครูต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสภาพ-แวดล้อม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ หรือแหล่งข้อมูลสำหรับเด็ก และเป็นผู้ที่จัดให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น จัดให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน สนับสนุนให้เด็กกล้าเสี่ยงที่จะอ่านและเขียนคำที่ไม่เคยพบมาก่อน ยอมรับสิ่งที่เด็กอ่านและเขียน และตอบสนองต่อความพยายามของเด็กในทางบวก ไม่ตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเด็กอ่านหรือเขียนยังไม่ถูก
        2. ครูเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ ครูต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ทั้งในลักษณะของการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือ เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การชี้คำขณะที่อ่าน การถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน ฯลฯ หรือในลักษณะที่ครูเป็นนักอ่านหรือนักเขียน เช่น การเขียนบันทึกถึงกัน การอ่านเพื่อความมุ่งหมายต่างๆตามโอกาส

3. ครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องจัดการให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ต้องให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือ และต้องให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน

4. ครูเป็นผู้ประเมินพัฒนาการ ครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กเพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป

บทบาทเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ

        นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายบทบาทของเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติไว้ สรุปได้ ดังนี้
        1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านและการเขียนด้วยการอ่านและการเขียนอย่างมีความหมายจริงๆ

        2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการและใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง

        3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือมากขึ้น












Skills
ทักษะการฟัง
ทักษะการต่อยอดความรู้
ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
Self assessment
แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
Evaluate friends
มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
Teacher Evaluation
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
Classify
ห้องเรียนสะอาดกว้าง  บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน