Learning Record 6
Tuesday 20 February 2018
สาระการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
สาระการเรียนรู้หลักสูตรการปฐมศึกษา
กำหนดไว้ 2 ส่วน คือ สาระที่ควรเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ ดังนี้
สาระที่ควรเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
ธรรมชาติรอบตัว
สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
สาระที่ควรเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก^
รู้จักชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา
อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย
เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น
ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว
สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฎิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
ธรรมชาติรอบตัว
รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้
ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล
กลางวัน-กลางคืน ฯลฯ
สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ
และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
การประสามสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
การรักษาสุขภาพ
การรักษาความปลอดภัย
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
ดนตรี
สุนทรียภาพ
การเล่น
คุณธรรมจริยธรรม
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
การเรียนรู้ทางสังคม
การปฎิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
การวางแผน
ตัดสินใจเลือกและลงมือปฎิบัติ
การมีโอกาสได้รับความรู้สึก ความสนใจ
และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพควาคิดเห็นของผู้อื่น
การแก้ปัญหาในการเล่น
การปฎิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา^
การคิด
การใช้ภาษา
การสังเกตุ การจำแนก
และการเปรียบเทียบ
จำนวน
มิติสัมพันธ์ (พื้นที่/ระยะ)
เวลา
กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ
ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก
รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง
ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ
และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์
การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง
พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ
ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา
และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง
ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
ภาษา
ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
ศิลปะ
ได้แก่ กิจกรรมหลัก >> วาดภาพด้วยสีเทียน,งานปั้น
กิจกรรมพิเศษ >> ฉีกปะ,พิมพ์ภาพ,ประดิษฐ์,ร้อยสาน
สุขศึกษา
ได้แก่ การดูแลรักษาตนเอง ฯ
พละศึกษา
ได้แก่ การเคลื่อนไหว ฯ
คุณธรรม จริยธรรม
ได้แก่ คุณธรรม 12 ประการ
Skills
ทักษะการฟัง
ทักษะการต่อยอดความรู้
ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
Self assessment
แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
Evaluate friends
มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
Teacher Evaluation
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
Classify
ห้องเรียนสะอาดกว้าง
บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น