Learning Record 4
กลุ่มที่ 1
รูปแบบการเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่
กลุ่มที่ 2
รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮสโคป( HighScope Approach )
กลุ่มที่ 1
รูปแบบการเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่
จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า
จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก
แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา
การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น
ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก
ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์
และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่
ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก
ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น
จากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน
การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้
โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's
House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน
หลักสูตรของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
วิถีทางของการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น
เป็นหลักการที่คำนึงถึงเด็ก ความต้องการของเด็กในการเรียน
ได้มีการตระเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้ทำงานด้วยตนเอง สิ่งแวดล้อม
และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ นั้น ได้จัดระบบไว้เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเอง
โปรแกรมจัดเอาไว้ให้เด็กได้เป็นผู้เรียนที่มีอิสระ
การควบคุมความผิดพลาดในการทำงานก็ด้วยการใช้วัสดุเหล่านั้นเอง
และสิ่งแวดล้อมที่จัดเอาไว้ให้นี้เองเป็นตัวที่ทำให้เด็กมีอิสระ
มอนเตสซอรี่เชื่อว่า
การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตนเอง
และการซึมซาบการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
จะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการเรียนรู้
เด็กจะได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้
และจะทำให้เด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเขา
หลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง
6 ขวบ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่:การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education) การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) และการตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์
(Preparation for Writing and Arithmetic)
วิธีการสอนสามขั้นตอน ( The Three-Period Lesson )
เป็นวิธีการที่ใช้สำหรับสอนความคิดรวบยอดใหม่ด้วยการทำซ้ำ
เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจในแบบฝึกหัดที่ครูสาธิตให้ดูได้ดีขึ้น
การสอนนี้ยังช่วยให้ครูสังเกตเห็นว่าเด็กสามารถเข้าใจ
และซึมซาบสิ่งที่สาธิตให้เด็กดูได้ว่องไวแค่ไหน
วิธีการสอนสามขั้นตอนนี้ใช้กับการสาธิตขั้นตอน
เมื่อเด็กไม่เข้าใจขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะต้องเริ่มสาธิตให้ดูใหม่ครูต้องแน่ใจว่า
เด็กเข้าใจในสิ่งที่ทำให้ดูแล้ว จึงจะดำเนินขั้นต่อไป
วิธีการสอนสามขั้นตอนดังกล่าว Hainstock อธิบายไว้ ดังนี้
ขั้นแรก สังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น
( Recognition of Identity ) ทำให้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสาธิตให้ดูกับชื่อของสิ่งนั้นได้
“ นี่ คือ …”
ขั้นสอง สังเกตเห็นความแตกต่าง ( Recognition of Contrasts ) มั่นใจว่า เด็กเข้าใจเมื่อบอกเด็กว่า
“ หยิบ …”
ขั้นสาม เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของที่มีความคล้ายคลึงกัน
( Discrimination Between Similar Objects ) ขั้นตอนนี้เพื่อที่จะได้ทราบว่าเด็กจำชื่อสิ่งต่างๆ
ที่ครูสาธิตให้ดูได้หรือเปล่า เช่น ชี้ที่ของหลายๆ สิ่ง แล้วถามว่า “ อันไหน คือ …”
กลุ่มที่2 รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮสโคป( HighScope Approach )
ทำความรู้จัก “แนวการสอนไฮสโคป” พัฒนาเด็กอนุบาลเน้นการลงมือทำ
ไฮสโคป
(High Scope) คืออะไร
ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย
ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ
ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive
Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก
ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ
(Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด ความรู้
ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง
แนวการสอนแบบไฮสโคป
(High Scope) เป็นอย่างไร
ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก
และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร
การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก
เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด
แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง
หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ
ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ
จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ
ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ
รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป
(High Scope)
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ในเมื่อหลักการของแนวนี้คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้น
การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศก็จำเป็นต้องเอื้อต่อการเรียนรู้
มีการลื่นไหลของกิจกรรม และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น
1. พื้นที่
ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี
คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก
2. วัสดุอุปกรณ์
สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย
เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน
3. การจัดเก็บ
เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรการค้นหา-ใช้-เก็บคืน ดังนั้น
การจัดวางสิ่งของในห้องเรียนก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วนตนเอง
ครูต้องจัดวางอุปกรณ์ให้เด็กสามารถค้นหาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย
เด็กสามารถหยิบมาใช้และเก็บคืนได้เอง
กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จัดสังเกต เปรียบเทียบ
มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือ
ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป
(High Scope) ที่มีต่อเด็ก
1.
สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น
ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
2.
การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
3.
เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ
ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ
การเรียนแบบ
ไฮสโคป (High Scope) ถือเป็นแนวการเรียนการสอนที่น่าสนใจเพราะเน้นในการพัฒนาศักยภาพของเด็กอย่างแท้จริงไฮสโคป
เป็นการเรียนที่ไม่จำเป็นต้องเรียนที่โรงเรียนเท่านั้น
คุณพ่อคุณแม่อาจนำแนวทางนี้มาสอนลูกเมื่ออยู่ที่บ้านก็ได้ เพราะการที่เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ย่อมสร้างความภาคภูมิใจเมื่อทำสำเร็จ
และฝึกให้ลูกเป็นคนกล้าคิดกล้า มีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้การทำงานอย่างมีระบบ ขั้นตอน
และเรียนรู้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง
จึงขอเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่มาเลี้ยงลูกตาม
แนว
ไฮสโคป (High Scope)
โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ
ไฮสโคป (High Scope)
โรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์
2066 ซอย นราธิวาสราชนครินทร์ 18
แขวง ช่องนนทรี เขต ยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์: 02678 – 4612 เว็บไซต์ : http://www.maneerut.com/
แนวการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
คือ จัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามแนวคิด วอลดอร์ฟ, มอนเทสซอรี่
และ ไฮสโคป HIGH SCOPE
โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
295 ถ. ราชสีมา แขวงวชิระ เขตดุสิต
กทม. 10300
โทรศัพท์ 0-2241-4656, 0-2244-5590 เว็บไซต์ : www.la-orutis.dusit.ac.th
แนวการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน คือ
จัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามแนวคิด วอลดอร์ฟ, มอนเทสซอรี่, ไฮสโคป HIGH SCOPE และการสอนแบบโครงการ (Project
Approach)
Skills
ทักษะการฟัง
ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
ทักษะการต่อยอดความรู้
ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
Self assessment
แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
Evaluate friends
มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
Teacher Evaluation
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
Classify
ห้องเรียนสะอาดกว้าง บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น