Learning Record 2
Monday 22 January
2018
กลุ่มที่
1 เรื่องพัฒนาการตามวัยของเด็กปฐมวัย
คุณลักษณะตามวัย
คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาตืเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ
ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 -
5 ปี
เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ขณะเดียวกันก็ต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
เพื่อนำข้อมูลไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจน
ต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือและเเก้ไข
เด็กอายุ 3 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
ใช้กรรไกรมือเดียวได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
ชอบจะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและรับคำชม
กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
ชอบเล่นเเบบคู่ขนาน
เล่นสมมติได้
รู้จักการรอคอย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
บอกชื่อของตนเองได้
ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องประโยคสั้นๆได้
สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆและแสดงเลียนเเบบท่าทางได้
รู้จักใช้คำถาม อะไร
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆได้
อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
เด็กอายุ 4 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
ตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้
กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
ชอบท้าทายผู้ใหญ่
ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม
เล่นร่วมกับคนอื่นได้
รอคอยตามลำดับก่อนหลัง
แบ่งของให้คนอื่น
เก็บของเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา
จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
ได้
บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
รู้จักใช้คำถามว่าทำไม
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี
ยืดตัว คล่องเเคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เหมาะสม
ชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
ปฎิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่
รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง
จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้สิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
บอกชื่อและนามสกุลและอายุของตนเองได้
พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
โต้ตอบเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
รู้จักใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร
เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
กลุ่มที่
2 ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัย
ความต้องการ
ความต้องการเป็นสิ่งจาเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
ความต้องการเกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดความสมดุล
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทาให้ร่างกายเกิดความเครียด ไม่เป็นสุข
ดังนั้นร่างกายจึงต้องมีการกระทำเกิดขึ้นเพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาวะสมดุลตามปกติ
ชนิดของความต้องการ
1.ความต้องการของแต่ละคน
(Individual Needs )
- ความต้องการทางอินทรีย์
- ความต้องการที่จะสร้างบุคลิกภาพ
2
ความต้องการที่จะสร้างบุคลิกภาพ
- ความต้องการที่จะรักคนอื่นและให้คนอื่นรักตน
- ความต้องการความปลอดภัย
- ความต้องการการมีส่วนร่วม
หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
-
ความต้องการความสัมฤทธิ์ผลหรือต้องการให้บรรลุจุดมุ่งหมายของตน
- ความต้องการรู้สิ่งต่าง ๆ
เพื่อการพัฒนาสติปัญญา
- ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่อยู่ปกติให้เป็นสภาพใหม่
-
ความต้องการที่จะรับความพึงพอใจในทางสวยงาม
ความต้องการทางสังคม
(Social Need)
ได้แก่
ความต้องการความปลอดภัยทางเศรษฐกิจ การนับหน้าถือตา ความนิยมชมชื่น
ความเป็นมิตรภาพต่อกัน และความต้องการในสมบูรณาการ (Integration)
ซึ่งเป็นความต้องการ ที่เป็นความสุขของชีวิตตามอุดมคติ
ความต้องการของเด็กปฐมวัย
ความต้องการพื้นฐานทางกาย
เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่
ความต้องการความอิสระ
ควบคู่ไปกับความต้องการพื้นฐานทางกาย
ความต้องการผลสัมฤทธิ์
มักจะต้องการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทั้งสิ้น
ความต้องการประสบการณ์ที่ท้าทาย
ความต้องการมีเพื่อน
เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ชอบอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น
เด็กปฐมวัยจะมีความใจอยู่ช่วงเวลาสั้นๆ
ประมาณ 2-3 นาทีตามวัยของเด็ก หากเราจะจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการขอเด็กปฐมวัย
และอยากให้เด็กสนใจและเกิดความต้องการเราต้องศึกษาสิ่งที่เด็กสนใจ
หรือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก นั่นก็คือการที่เด็กได้เป็นผู้ปฏิบัติเอง
ได้ลงมือทำเอง เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ความหมายและความสำคัญของเด็กปฐมวัย
“เด็กปฐมวัย” ตามความหมายของ The
National Association for Education of
Young Children’s Early Childhood Education Guidelines (Seefeldt
& Barbour. 1986 : Preface)
ให้ความหมายว่า
“ เด็กปฐมวัย” หมายถึง
เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปี
ส่วน มาสโซเกลีย (Massoglia.
1977 : 3)
กล่าวว่า เด็กปฐมวัย (Early Childhood) เป็นคำที่ใช้เรียกเด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 6 ปี
ซึ่งอยู่ในวัยที่คุณภาพของชีวิทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญากำลังเริ่มต้นพัฒนาอย่างเต็มที่หรรษา
นิลวิเชียร (2534 : 1, 51)
กล่าวว่า
เด็กปฐมวัยคือวัยตั้งแต่อายุ 2 ปีถึงอายุ 8 ปี
และเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล หรือเรียนก่อนเกณฑ์บังคับ
ยังครอบคลุมถึงเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งและชั้นประถมศึกษาปีที่สอง
กล่าวโดยสรุป
เด็กปฐมวัยหมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 8 ปี
ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา ซึ่งพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญากำลังพัฒนาอย่างเต็มที่
ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งเป็นความหวังของครอบครัว
เป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นมนุษยชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
อนาคตของประเทศชาติจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็ก เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย
จิตใจ มีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ที่เหมาะสมกับวัย
ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม
จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
เด็กในวัยเริ่มแรกของชีวิต
หรือที่เรียกว่า “เด็กปฐมวัย” คือ วัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปี
จัดได้ว่าเป็นระยะที่สำคัญที่สุดของชีวิต ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม บุคลิกภาพ
โดยเฉพาะด้านสติปัญญา จะเจริญมากที่สุดในช่วงนี้ และพัฒนาการใด ๆ
ในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่น ๆ ของชีวิตเป็นอย่างมาก ดังที่นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญของเด็กในวัยนี้ดังนี้ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund
Freud, 1949)
นักจิตวิเคราะห์ได้ย้ำให้เห็นว่า วัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์คือ ระยะ 5
ปีแรกของคนเรา ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับในตอนต้น ๆ
ของชีวิตจะมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนเราตลอดจนถึงวาระสุดท้าย
เขาเชื่อว่าการอบรมเลี้ยงดูในระยะปฐมวัยนันจะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต เบนจามิน เอส บลูม (Benjamin
S. Bloom, 1964)
ได้รายงานผลการวิจัยของเขาในหนังสือชื่อ “ความมั่นคงและเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพของมนุษย์”
(Stability and Change in Human Characteristics) หนังสือเล่มนี้ได้ทำให้นักศึกษาหลาย
ๆ
ท่านที่มีข้อสงสัยในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระยะเริ่มแรกมีความเชื่อมั่นและเข้าใจว่า
เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงขวบปีแรกจะพัฒนาร้อยละ 20 เมื่อมีอายุ 4 ปี
จะพัฒนาด้านสติปัญญาถึงร้อยละ 50 และจากช่วงอายุ 4 – 8 ปี จะพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30
รวมเป็น 80 % และที่เหลืออีก 20 % จะอยู่ในช่วง 8 – 17 ปี
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสติปัญญาของมนุษย์มากว่า 3 ใน 4 จะได้รับการพัฒนาเมื่อเด็ก
ซึ่งถ้าหากว่าไม่ได้รับการพัฒนาในด้านสติปัญญาอย่างถูกต้อง ความสามารถในการเรียนรู้อาจจะถูกยับยั้ง
บลูมยังพบอีกด้วยว่าสิ่วแวดล้อมมีส่วนสำคัญที่จะทำให้พัฒนาการของบุคคลชะงักงันหรือเพิ่มขึ้นได้
ซึ่งแสดว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กในระยะ 6
ปีแรกของชีวิตมากกว่าในระยะอื่น ๆ
อีริคสัน (Erikson, 1967) กล่าวว่า
วัยทารกตอนปลายเป็นช่วงที่บุคคลเรียนรู้เจตคติของความมั่นใจหรือไม่มั่นใจ
ซึ่งขึ้นอยู่กับการที่พ่อแม่ให้สิ่งที่เด็กต้องการ สำหรับอาหาร การเอาใจใส่
และความรักอย่างชื่นชม
เจตคติเหล่านี้ซึ่งเด็กมีอยู่จะคงอยู่มากหรือตลอดชีวิตและสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไปและสถานการณ์ของบุคคลได้ โจ แอล ฟรอสท์ (Joe
L. Frost, 1977) กล่าวว่า เด็กในช่วง 4 – 5 ปีแรกของชีวิต
เป็นช่วงเวลาที่ความเจริญงอกงามทางด้านร่างกายและจิตใจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด
นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกที่ไวต่ออิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก อลิซาเบธ เฮอร์ล๊อค (Elizabeth
Hurlock, 1959) กล่าวว่า
วัยเด็กนับได้ว่าเป็นวัยแห่งวิกฤติการณ์ในการพัฒนาบุคลิกภาพ
เป็นระยะสร้างพื้นฐานของจิตใจในวัยผู้ใหญ่ต่อไป
บุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่แม้จะมีความแตกต่างไปจากวัยเด็กมาเท่าใดก็ตาม
แต่จะเป็นความแตกต่างที่ถือกำเนินจากรากฐานในวัยเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับริชาร์ด ซี
สปินทอลล์ (Richard C. Spinthall, 1974) กล่าวว่า ในช่วง 5
ปีแรกของมนุษย์เป็นช่วงวิกฤติของชีวิต
เป็นระยะที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานของบุคลิกภาพ
ซึ่งการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นเด็กจะต้องการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ได้รับ
โดยการตอบสนองนี้มีผลมาจากวุฒิภาวะทางร่างกาย สติปัญญา
และประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม
จากความเห็นดังกล่าวพอสรุปได้ว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์
เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการทุกด้านเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์
สังคม และสติปัญญา การพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้จะเป็นการวางพื้นฐานทางด้านจิตใจ
อุปนิสัยและความสามารถ ซึ่งจะมีผลต่อไปในอนาคตของเด็กและของชาติในที่สุด
กลุ่มที่
4 รูปแบบการเรียนรู้นวัตกรรมการสอนโปรเจค (Project Approach)
Skills
ทักษะการฟัง
ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
ทักษะการต่อยอดความรู้
ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
Self assessment
แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
Evaluate friends
มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
Teacher Evaluation
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
Classify
ห้องเรียนสะอาดกว้าง บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น