Learning Record 14
Monday 30 April 2018
สาระที่ควรเรียนรู้
ขั้นสรุป
สาระที่ควรเรียนรู้
หน่วยผลไม้เพื่อสุขภาพ
(วันพฤหัสบดี)
(วิธีถนอมผลไม้)
วัตถุประสงค์
1. ร่วมสนทนากับครูได้
2.บอกวิธีการถนอมอาหารประเภทผลไม้ได้
3. มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 4. พัฒนาทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบ |
สาระที่ควรเรียนรู้
- การถนอมอาหาร
ผลไม้หลายชนิดสามารถนำมาทำอาหารเก็บไว้รับประทานได้นานๆ หลายวิธี เช่น ตากแห้ง
เชื่อม แช่อิ่ม กวน ดอง ฯลฯ
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการเปรียบ เทียบ
ประสบการณ์สำคัญ
|
1. การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. การถนอมอาหาร
3. การสังเกตสิ่งต่างๆโดยใช้ปราสาทสัมผัสด้วยการมอง ฟัง สัมผัส
ชิมรสและดมกลิ่นอย่างเหมาะสม
|
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ให้เด็กทายปริศนาคำทาย ดังนี้
-อะไรเอ่ย? ลำต้นอวบใหญ่ มีใบสีเขียว
ออกผลครั้งเดียว เป็นเครือเป็นหวี ตอบ กล้วย
ขั้นสอน
2.เด็กและครู ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการเก็บและการถนอมอาหารประเภทผลไม้
ดังนี้
- ทำอย่างไร เราจึงจะเก็บผลไม้ไว้รับประทานได้นานๆ
- การเก็บและการถนอมอาหารมีวิธีใดบ้าง
3. ให้เด็กสังเกตรูปภาพผลไม้ที่ผ่านการถนอมอาหารมาแล้ว เช่น กล้วยตาก
เงาะกระป๋อง ผลไม้ดอง ฯลฯ
4.ครูเขียนลงชาร์ต วิธีถนอมอาหาร
5.เด็กและครู
ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับผลไม้ที่ทำเองได้ที่บ้านกับผลไม้ที่ใช้เครื่องจักร ดังนี้
-ผลไม้ที่เราทำเองได้ที่บ้านมีอะไรบ้าง
-ผลไม้ที่ใช้เครื่องจักรทำมีอะไรบ้าง
สรุป
6.เด็กและครูร่วมกันสรุปวิธีการถนอมอาหารประเภทผลไม้
สื่อ
1.
ปริศนาคำทาย
2.รูปภาพ
3.ชาร์ตวิธีถนอมอาหาร
4.ชาร์ตตารางผลไม้ที่ทำเองได้ที่กับผลไม้ที่ใช้เครื่องจักร
การประเมิน
สังเกต
1. การสนทนาและการตอบคำถาม
2. การร่วมกิจกรรม
3. ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบ
|
หน่วยบ้านแสนสุข
(วันพฤหัสบดี)
(หน้าที่ของสมาชิกในบ้าน)
วัตถุประสงค์
1.เด็กบอกหน้าที่ของตนเองขณะอยู่บ้านได้
2.เด็กฟังและตอบคำถามได้
3.เด็กสามารถร่วมสนทนาและแสดงความคิดเห็นได้
|
สาระที่ควรเรียนรู้
ทุกคนในบ้านมีหน้าที่ต่างกัน
เราควรช่วยเหลือตนเองในเรื่องการอาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร เก็บของเล่น
เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่
|
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
1.การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
ด้านอารมณ์-จิตใจ
2.การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก
ขำขันและเรื่องราว เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่างๆ
ด้านสังคม
3.การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
ด้านสติปัญญา
4.การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
|
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง
คำคล้องจอง
ของใช้ประจำตัว
ของใช้ของหนู
ต้องดูให้ดี
เก็บไว้เป็นที่
อย่าให้ปะปน
แก้วน้ำ
เสื้อผ้า ขนม
อย่าให้สับสน เก็บไว้ให้ดี
2. ครูสนทนาเกี่ยวกับคำคล้องจอง โดยถามคำถาม เช่น
- ในคำคล้องจองบอกให้เด็กทุกคนปฏิบัติหน้าที่อย่างไรบ้าง
-
นอกจากสิ่งที่มีอยู่ในคำคล้องจองเด็กๆมีหน้าที่อะไรอีก
ขั้นสอน
3.
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับหน้าที่ที่เด็ก
|
ควรทำในบ้าน
โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
-ในขณะที่เด็กๆอยู่ที่บ้านเด็กช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำงานอะไรบ้าง ?
-
ถ้าเด็กๆ วางของกระจัดกระจายเต็มบ้านจะเป็นอย่างไร ?
-เด็กๆมีวิธีใดบ้างที่จะทำให้บ้านน่าอยู่ ?
4.ครูนำบัตรภาพเกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆ มาให้เด็กดูพร้อมกับอธิบายรูปภาพนั้น
5.ให้ตัวแทนเด็กออกมาติดบัตรภาพลงในตารางที่ครูเตรียมไว้
|
ขั้นสรุป
6.เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมหน้าที่ภายในบ้าน
สื่อ
1.อุปกรณ์เกม
2.ชาร์ตสรุปกิจกรรม
|
การประเมิน
การสังเกต
1.การฟังและการตอบคำถาม
2.การทำงานร่วมกับผู้อื่น
3.การอธิบายหน้าที่ของตนเองขณะอยู่บ้าน
|
หน่วยบ้านแสนสุข
(วันศุกร์)
(การปฏิบัติตนของสมาชิกในบ้าน)
วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถร่วมสนทนาและแสดงความคิดเห็นได้
2.บอกวิธีการปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีเมื่ออยู่ที่บ้านได้
3.เด็กกล้าแสดงออกและสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
|
สาระที่ควรเรียนรู้
การปฏิบัติตนต่อคนในครอบครัว เช่น
การเป็นเด็กดี เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่ ช่วยพ่อแม่ ไม่เกเร ช่วยทำงานบ้าน เป็นต้น
ประสบการณ์สำคัญ
|
ด้านร่างกาย
การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
ด้านอารมณ์
กล้าพูดกล้าแสดง
ออกอย่างเหมาะสม
ด้านสังคม
การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
การตอบคำถาม และการสังเกต
|
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูเล่านิทานเรื่อง น้องไข่เจียวเป็นเด็กดีช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ให้เด็กฟังแล้วสนทนาเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในนิทาน
และเชื่อมโยงว่านอกจากในนิทานแล้วมีการปฏิบัติตนต่อคนในบ้านอย่างไรอีก
แล้วบันทึกผลบนกระดาน โดยใช้คำถาม ดังนี้
- น้องไข่เจียวปฏิบัติตนในบ้านอย่างไรบ้าง
- แล้วนอกจากในนิทาน เด็กๆมี
วิธีปฏิบัติตนต่อคนในครอบครัวอย่างไร
ขั้นสอน
1.ครูนำภาพการปฏิบัติตนต่อคนในบ้านมาให้เด็กสังเกต
ดังนี้
-ภาพเด็กเคารพเชื่อฟังพ่อแม่
-ภาพเด็กมีกิริยามารยาทที่สุภาพ
-ภาพเด็กช่วยทำงานบ้าน
-ภาพเด็กไม่เกเรหรือทำอันตรายผู้อื่น
2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพ ดังนี้
-เด็กๆคิดว่า เด็กในภาพนี้ทำอะไรอยู่
-จากในภาพ เด็กๆควรปฏิบัติตามหรือไม่ เพราะอะไร
3. ครูขออาสาสมัครให้เด็กออกมาทำท่าทางกิจกรรมที่เด็กๆ
ปฏิบัติตนเมื่ออยู่ที่บ้าน แล้วให้เพื่อนๆ ช่วยกันทายว่า ทำกิจกรรมอะไร
ครูอธิบายเพิ่มเติม
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่ออยู่ที่บ้าน
ดังนี้ ทุกคนในบ้านต้องมีหน้าที่ในการปฏิบัติ เด็ก
ๆก็ต้องมีหน้าที่ในการปฏิบัติตนต่อคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว
ดังนั้นทุกคนมีหน้าที่ในการดูแลบ้านและปฏิบัติตนต่อคนในบ้าน
สื่อ
1.นิทานเรื่อง น้องไข่เจียวเป็นเด็กดีช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
2.ภาพเด็กทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้าน
การประเมิน
สังเกตพฤติกรรมของเด็ก
ดังนี้
1.บอกวิธีการปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี
2.การฟังและตอบคำถาม
3.การแสดงออกและการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
หน่วยใต้ร่มเงาไม้
(วันศุกร์)
(ข้อควรระวัง)
วัตถุประสงค์
สาระที่ควรเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูร้องเพลงสงบเด็ก (เพลงลมเพลมพัด) จากนั้นครูก็สนทนากับเด็กเรื่องต้นไม้
และนำเข้าสู่การเล่านิทาน
ขั้นสอน
2. ครูเล่านิทาน เรื่อง ใต้ร่มเงาไม้ ให้เด็กฟัง
พร้อมอธิบายให้เด็กเห็นภาพชัดเจน ตลอดเนื้อเรื่อง
(เนื้อเรื่อง
หลังบ้านของชูใจ มีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งเป็นต้นไม้ที่พ่อของชูใจปลูกไว้เมื่อ 30ปีทีแล้ว
ชูใจชอบมานั่งเล่นใต้ต้นไม้ต้นนี้ประจำ วันหนึ่งแม่เห็นกิ่งไม้ตกใส่หัวของชูใจ
แม่เลยเป็นห่วง และ บอกให้ชูใจระวังเกี่ยวกับต้นไม้
เพราะต้นไม้ต้นนี้ปลูกไว้นานแล้ว ชูใจก็ฟังแม่อย่างตั้งใจ
และมีความสุขที่ได้เล่นใต้ต้นไม้ต้นนี้ )
ขั้นสรุป
3.ครูทวนข้อควรระวังกับเด็กอีกครั้ง
4.ครูถามเด็กว่านอกจากข้อควรระวังที่กล่าวมามีอะไรอีก
และนำคำตอบของเด็กบันทึกลงในแผ่นชาร์ต
สื่อ
|
Skills
·
ทักษะการฟัง
·
ทักษะการคิด
·
ทักษะการต่อยอดความรู้
·
ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
·
ทักษะการคิดอย่างมีแบบแผน
·
ทักษะการสื่อสาร
·
ทักษะการนำเสนอข้อมูล
Adopt
·
สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากคำแนะนำของอาจารย์ไปใช้ในการเขียนแผนการสอนต่อไป
Self assessment
·
มาเรียนตรงเวลา
แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบตามที่อาจารย์กำหนดในคาบเรียน
Evaluate friends
·
เพื่อนแต่งการถูกระเบียบ มาเรียนตรงเวลา
ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
Teacher Evaluation
·
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
Classify
·
ห้องเรียนสะอาดกว้าง บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน
โต๊ะเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น